วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ : Albert Einstein



อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ : Albert Einstein

ประวัติ

กิด วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี
เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงาน
- ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
- ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
- ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921

ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพแห่งการทำลายล้าง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ไอน์สไตน์ ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ แร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดพลังงานการทำลายสร้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพ มาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000 คน


ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิวด้วย บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อ ไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับ เพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม และมักไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และ ไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียน ในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียนก็คือการสอนที่น่าเบื่อหน่าย ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่เขาเกลียดที่สุด ทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาให้ไอน์สไตน์ โดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่ ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่น ยกเว้นวิชาดนตรี และเรียนวิชาอื่นได้แย่มาก แม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีมาก เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ


ต่อมาไอน์สไตน์อายุ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเขาแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่ง ทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy) แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ แต่ด้วยความที่เขาคิดถึงครอบครัวมาก หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผน ให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี เมื่อเป็นเช่นนั้นไอน์สไตน์จึงเดินทาง ไปหาครอบครัวที่มิลาน แต่ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเขาได้ขอใบรับรองทางการศึกษา เพื่อสะดวกในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอื่น

ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้ เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ เขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่วิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขา ไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อวิทยาลัยโปลีเทคนิคได้โดยไม่ต้องสอบ หลัง จากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียน แห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ และไม่จำกัดมากจนเกินไป แนวการสอน เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนยังดีมากดีด้วย เพราะได้มีการจัด ห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้ โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ยังมีนักเรียนจำนวนมาก ทำให้ ไอน์สไตน์ไม่รู้สึกว่ามีปมด้อยที่เป็นชาวยิวอีกต่อไป หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัย เทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้

ชีวิตการทำงาน

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับ การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้า จากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการ สัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก จากนั้นไอน์สไตน์จึงรับจ้างเป็น ครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้าง เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความผิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียน ที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน แม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบ วิธีการสอนของเขาก็ตาม ไอน์สไตน์ก็ยังถุดไล่ออกอยู่ดี

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับ การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้า จากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการ สัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก จากนั้นไอน์สไตน์จึงรับจ้างเป็น ครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้าง เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความผิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียน ที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน แม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบ วิธีการสอนของเขาก็ตาม ไอน์สไตน์ก็ยังถุดไล่ออกอยู่ดี

ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่า ไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่มากนัก แต่รายได้ปีละ 250 ปอนด์ ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่ง ประดิษฐ์ที่แปลกใหม่อีกด้วย ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของเช่นกัน สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า

ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขา ได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับ ความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย

E (Energy) = พลังงาน 
m (mass) = มวลสารของวัตถุ 
c = ความเร็วแสง

ทฤษฎีสัมพัทธภาพต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง พลังงานปรมาณู เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่ง สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออก ไป ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขา ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด

  ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันที ทั้งนี้เขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาครั้งหนึ่งแล้ว

 ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์ ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความ สำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็น ศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการได้สนทนา กับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัยที่สนุกสนานเป็นกันเอง ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกัน และอีก 2 ปีต่อมา ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้


ผลงานอันลือลั่น

ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ทุกหนทุกแห่งวุ่นวาย โดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915 ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายต่างก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้ อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวน ทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็ว ทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน
 ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory) และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน ได้แก่ ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาสตร์ ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัย ไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของ สถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New Jersey) นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า "สสารย่อมไม่สูญไปจากโลกเพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่ เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก

 ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับความทุกข์ทางใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อ สงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่ ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดิน ทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนี และถูกสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 1,000,000 คน




สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ประเทศสหรัฐ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี และอิตาลี ได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ระเบิดปรมาณูได้ทำการทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้ ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่ม และควบคุมการผลิต ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000 คน แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000 คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูก นี้ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เพียงเท่านี้

ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้าง อนุสาวรีย์ รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา








 100 ปีมหัศจรรย์ (Miraculous Year)ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)


ปีนี้ถือเป็นปีที่มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์ เนื่องจากโอกาสครบ 100 ปีมหัศจรรย์ (Miraculous Year) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) โดยย้อนไปเมื่อ 100 ปีก่อน (ปี พ.ศ. 2448) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการถึง 5 ผลงาน ในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่ง 3 ผลงานที่ปฏิวัติโลกคือ "ปรากฏการณ์โฟโตอิเลคตริก" (Photoelectric Effect) "การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน" (Brownian Motion) และ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ" (Special Theory of Relativity) วาระโอกาสครบ 100 ปีนี้เอง ทางองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก จึงได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2548 เป็น "ปีฟิสิกส์สากล" (International Year of Physics)

      "ปรากฏการณ์โฟโตอิเลคตริก" ของไอน์สไตน์ ผลงานไขปริศนา ว่าทำไมแสงจึงกระเด้งอิเล็กตรอนให้หลุดจากโลหะทั้งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่าง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า แสงเป็นได้ทั้งอนุภาค และคลื่น ปรากฏการณ์โฟโตอิเลกทริก 1 ใน 3 ผลงานยิ่งใหญ่ ที่นำโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีไฮเทค่ รวมถึงเป็นพื้นฐานวิชา “กลศาสตร์ควอนตัม” ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีโลกยุคใหม่อีกด้วย

      "การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน" ไอน์สไตน์ ได้นำเสนอรายการในหัวข้อ “การเคลื่อนที่ของอนุภาคเล็กๆ ซึ่งแขวนลอยในของเหลวโดยอาศัยทฤษฎีจลน์โมเลกุลของความร้อน” (On the movement of small particles suspended in stationary liquids required by the molecular-kinetic theory of heat) ที่เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian motion) ไอน์สไตน์ศึกษาเรื่องการเคลื่อนแบบบราวเนียน โดยที่เขาเองไม่ได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับผลการทดลองที่นักชีววิทยาเลย ในรายงานของเขานั้นเขียนเอาไว้ว่า เป็นการแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุขนาดเล็กที่สังเกตยากด้วยตาเปล่า และเคลื่อนไหวไปมาในน้ำอันเนื่องจากน้ำร้อน ซึ่งเป็นผลจากทฤษฎีพลังงานจลน์โมเลกุล อาจเรียกได้ว่าเป็น “การเคลื่อนที่แบบบราวเนียนในระดับโมเลกุล” อย่างไรก็ดี ในรายงาน เท่าที่เขามีข้อมูลอยู่นั้นอาจจะไม่สมบูรณ์ และตัดสินได้ว่าเรื่องที่นำเสนอนั้นเป็นคำอธิบายในพฤติกรรมของสิ่งเล็กๆ ที่สร้างความฉงนให้กับเหล่านักชีววิทยา

      "ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ" ผลงานของไอน์สไตน์อันลือเลื่องที่เปลี่ยนแนวคิดเรื่องเวลาและอวกาศของนักฟิสิกส์ ในยุคของกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันรุ่งโรจน์ พร้อมนำเสนอรายงาน 3 หน้าที่รวมสมการ E=mc2 ทฤษฏีสัมพัทธภาพมีนัยยะว่าเมื่อเพิ่มพลังงานให้มีความเร็ว มวลก็จะเพิ่มขึ้นด้วย จึงไม่มีอะไรจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง

       หลายคนคงรู้จักสมการ E=mc2 ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) แต่จะมีใครทราบว่าสมการนี้ถือกำเนิดจากมันสมองของไอน์สไตน์ได้ 100 ปีแล้ว ก่อนที่ไอน์สไตน์จะให้กำเนิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ โลกของนักฟิสิกส์ตั้งอยู่บนกฎการเคลื่อนของนิวตัน (Newton’s law of motion) และทฤษฎีปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าและแม่เหล็กของเจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวล (James Clerk Maxwell) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันใช้ได้ดีกับเหตุการณ์ที่มีความเร็วในระดับที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน แต่ไม่สามารถใช้ได้เมื่อสิ่งที่สังเกตมีความเร็วเข้าใกล้แสง จากความพยายามในการศึกษาเรื่องแสงซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์กายภาพที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของศาสตร์ทางฟิสิกส์เพราะแสงเป็นคลื่น พวกเขาเชื่อว่าแสงเคลื่อนที่ในตัวกลาง กล่าวคือถ้าเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับแสง ความเร็วของแสงที่วัดได้ก็จะลดลง หากเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามจะวัดความเร็วแสงก็จะเพิ่มขึ้น ไอน์สไตน์จึงนำเสนอสมมติฐานใหม่ว่าความเร็วแสงมีค่าคงที่ และกฎต่างๆควรจะมีรูปแบบเหมือนกัน สำหรับผู้สังเกตทุกคนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าขัดแย้งความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ทุกคนในยุคนั้น ไอน์สไตน์ทำให้เราเข้าใจว่าเวลาไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ที่ทุกคนจะวัดได้เท่ากัน และเมื่อแสงสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน 27 ก.ย. ไอน์สไตน์นำเสนอรายงานในหัวข้อ “จริงหรือไม่ที่ความเฉื่อยขึ้นอยู่กับพลังงานภายในของวัตถุ” (Does the inertia of a body depend on its energy content?) ซึ่งมีสมการ E=mc2 อันโด่งดัง สมการนี้แสดงความสัมพัทธ์ระหว่างมวลและพลังงาน กล่าวคือ เมื่อให้พลังงานกับมวลเพื่อให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น มวลนั้นก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย จากทฤษฎีนี้ทำให้นำสู่ผลที่ว่าไม่มีอะไรเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง

       แม้ว่าไอน์สไตน์จะใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน ในการสร้างผลงานปฏิวัติโลกด้วยผลงานเด่นๆ 3 ผลงาน คือ “ปรากฏการณ์โฟโตอิเลคตริก” (Photoelectric Effect) “การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน” (Brownian Motion) และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ แต่โลกต้องใช้เวลาเพาะบ่มเพื่อเข้าใจผลงานของเขายาวนานมาก ใช่ว่าไอน์สไตน์จะมีผลงานแค่ในปีมหัศจรรย์เท่านั้น ก่อนหน้านี้เขาก็ได้สร้างผลงานออกมา เพียงแต่ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง กระนั้นก็ตามผลงานเหล่านั้นมีบทบาทอย่างมากกับผลงานต่อๆ มาของเขา และในปี พ.ศ.2458 เขาได้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General relativity theory)
       สำหรับการฉลองครบรอบ 100 ปีมหัศจรรย์นั้น หลังจากสหภาพสากลแห่งฟิสิกส์บริสุทธิ์และประยุกต์ (The International Union of Pure and Applied Physics: IUPAP) ได้ประกาศให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งฟิสิกส์โลก” (World Year of Physics) แล้ว และองค์กรวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก จึงได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2548 เป็น “ปีฟิสิกส์สากล” (International Year of Physics) ทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองวาระสำคัญดังกล่าว โดยเน้นกิจกรรมที่มีสาระทางฟิสิกส์ของไอน์สไตน์เป็นสำคัญ


100 ปี ไอน์สไตน์ กับมาตรวิทยา


 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะสอดคล้อง กับความก้าวหน้าในศิลปะแห่งการวัด ในลักษณะที่ขนานกันไป ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถกล่าวได้ว่า วิธีการที่เร็วที่สุดในการเข้าถึงสถานะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติใด ให้ดูการวัดที่ใช้ เหตุผลสำหรับการนี้ค่อนข้างง่าย เพราะขณะที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็จะมีการค้นพบปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ใหม่ๆ ซึ่งทำให้มีความต้องการการวัดชนิดใหม่พร้อมๆกัน ดังนั้นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถสร้างเครื่องมือวัดที่มีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันจะนำไปสู่การคิดค้นใหม่

       การวัด (measurement) เป็นพื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา การวัดเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วได้มีการพัฒนารูปแบบ และหลักการของการวัดขึ้นมาจากอดีตพร้อมๆ กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ มีการค้นพบหรือการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ เพื่อดัดแปลงหรือพยายาม ควบคุมธรรมชาติให้เอื้ออำนวยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ใน กิจการต่างๆ เช่น การสื่อสาร คมนาคม และการก่อสร้างเป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ รวมถึงที่ใช้ในกระบวนการควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะมองในด้านคุณภาพ ปริมาณ หรือความปลอดภัย จะต้องอาศัยการวัดที่ละเอียดถูกต้องเป็นพื้นฐาน
       จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นผลมาจากการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน และบุคคลที่น่ากล่าวคำยกย่องคือ อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ และยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติที่โด่งดังมากในศตวรรษที่ 20 ผลงานที่โดดเด่นและปฏิวัติโลกคือ ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก (Photoelectric Effect) การเคลื่อนที่บราวเนียน (Brownian Motion) และทฤษฎีสัมพันธ์ภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) ซึ่งคำอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก ได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของวิชากลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยียุคปัจจุบันด้วย อย่างเช่น การประยุกต์ใช้งานด้านมาตรวิทยา สร้างนาฬิกาอะตอม (Atomic Clock) จะอาศัยพื้นฐานของ Quantum Mechanics ซึ่งเราสามารถหาความถี่โดย Atomic resonator ความถี่ของการแผ่รังสีย่านไมโครเวฟ จะเป็นสัดส่วนกับความแตกต่างพลังงานระหว่างชั้นพลังงาน โดยที่การเคลื่อนที่ของวาเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างระดับพลังงาน 2 ระดับ ของอะตอม จะทำให้เกิดการปลดปล่อยหรือดูดกลืนพลังงานที่มีความถี่ที่หาได้จาก E = hu
      นอกเหนือไปจากผลงานที่โดดเด่นที่ปฏิวัติโลกแล้วนั้น ไอน์สไตน์ ได้ตั้งทฤษฎีสติมูลเลดเต็ดอิมิสชั่น (Theory of Stimulated Emission) ในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1958 Chales H.Townes และ Authur L.Shawlow ได้นำหลักการเกิดสติมูลเลดเต็ดอิมิสชั่นตามทฤษฎีของไอน์สไตน์มาประยุกต์ใช้ทำให้เกิดแสงเลเซอร์ขึ้น ในปัจจุบันได้มีการนำเลเซอร์มาประยุกต์ใช้งานในวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วงการแพทย์ วงการอุตสาหกรรม โทรคมนาคม การบันเทิง ด้านการทหาร ตลอดจนทางด้านมาตรวิทยา เช่นการประยุกต์ใช้เลเซอร์ทางด้านมาตรวิทยา กล่าวคือ ใช้ในการวัดความยาวได้อย่างแม่นยำได้อย่างละเอียดถึง 10-6 ส่วน ทั้งนี้อาศัยหลักการ อินเทอร์เฟียร์เรนซ์ โดยใช้เครื่องมือไมเคิลสันอินเทอร์อินเตอร์- ฟีรอมิเตอร์ (Michelson Interferometer)

100 ปี ไอน์สไตน์ กับนิวเคลียร์


นิวเคลียร์เป็นสิ่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียสของอะตอม แต่ก่อนนั้นคนเรายังไม่เชื่อว่าอะตอมมีจริง เพราะอะตอมเล็กมากจนใครก็มองไม่เห็น อะตอมจึงเป็นแต่เพียงหลักปรัชญาของชาวกรีกชื่อว่าดีโมคริตุส (Democritus) ตั้งแต่เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ต่อมาเมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น ราวเกือบสองร้อยปีก่อน (ค.ศ. ๑๘๐๘) จอห์น ดอลตัน (John Dalton) ชาวอังกฤษก็เอาหลักปรัชญาที่ว่ามาปัดฝุ่นกลายเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่าทฤษฎีอะตอมสมัยใหม่ (modern atomic theory) อะตอมของดอลตันในตอนนั้นก็เป็นเหมือนกับลูกบิลเลียดกลมๆ ซึ่งตัน แต่ว่ามีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น จากนั้นมาก็มีนักวิทยาศาสตร์เรียงแถวกันมายาวเหยียดศึกษาเรื่องของอะตอม จนเชื่อว่าที่จริงอะตอมไม่ได้ตัน แต่โปร่งจนแทบจะไม่มีเนื้อสสารเอาเลย คือมีเพียงนิวเคลียสเล็กๆ เป็นแกนกลางขนาดเพียง ๑ ในหมื่นของเส้นผ่านศูนย์กลางของอะตอม โดยรอบๆ นิวเคลียสเป็นอาณาเขตว่างเปล่าที่อิเล็กตรอนวิ่งวนกันวุ่นไปรอบๆ นิวเคลียส ไม่ได้มีเนื้อสสารใดๆ นอกจากเนื้อสสารของอิเล็กตรอนเองซึ่งก็เล็กน้อยมาก ยกตัวอย่างอะตอมยูเรเนียมมีมวลที่นิวเคลียสของโปรตอนกับนิวตรอนรวมกัน (๒๓๘ อนุภาค) หนักประมาณ ๔,๗๐๐ เท่าตัวของอิเล็กตรอนทั้ง ๙๒ อนุภาครวมกันที่วิ่งวุ่นวนอยู่รอบๆ นิวเคลียสนั้น

       โครงสร้างของอะตอมที่กล่าวมานี้ โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมของอิเล็กตรอนที่ว่าวิ่งวุ่นวนอยู่รอบๆ นิวเคลียสนี้ ท่านว่าอิเล็กตรอนเหล่านี้ที่ดูเหมือนวิ่งวุ่นๆ นั้น แท้จริงแล้วแบ่งได้เป็นชุดๆ ตามระดับพลังงานมากน้อยแตกต่างกันเป็นช่วงๆ อิเล็กตรอนที่อยู่ในชุดเดียวกันเรียกว่าอยู่ในเชลล์ (k l m n ..) เดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้พัฒนาขึ้นมาได้จากทฤษฎีที่เป็นผลงานของมักซ์ พลังค์ (Max Planck) ซึ่งได้ตัวสมการหรือค่าคงตัวมาจากการทดลอง และค่าคงตัวนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า Planck's constant ว่ากันว่าเวลาพิสูจน์สูตรหรือตัวสมการหรือค่าคงตัวนี้ พลังค์ใช้วิธีดำน้ำเอา เพราะกฎฟิสิกส์ที่มีมาตั้งแต่ยุคที่เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) จัดให้นั้น ไม่เพียงพอจะใช้อธิบายได้ และพลังค์ก็ไม่กล้าพอที่จะแหกคอก แต่คนที่กล้าแหกคอกกลับเป็นแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ในขณะที่มีอายุเพียง ๒๖ ปี ที่กล้าแหกคอกโดยพิสูจน์สูตรจากสมมุติฐานว่าพลังงานของโฟตอนที่เชื่อกันมาตามที่นิวตันบอกไว้ ว่าปล่อยออกมาอย่างมีความต่อเนื่องนั้น แท้จริงแล้วเป็นห้วงๆ หรือเป็นก้อนๆ หรือจะเรียกอะไรก็ตาม ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า ควอนตัม ดังนั้นไอน์สไตน์จึงเป็นคนแรกที่ใช้คำๆ นี้ และพัฒนาต่อมาโดยนักวิทยาศาสตร์อีกแถวยาวเรียกว่า ทฤษฎีควอนตัม (quantum theory)

       ในปี ค.ศ. ๑๙๐๕ ที่ไอน์สไตน์จุดประกายเรื่องควอนตัมนั้น ไอน์สไตน์ยังได้เขียนสูตรสั้นๆ ง่ายๆ ขึ้นมาอีกสูตรหนึ่งด้วย คือ E=mc2 เรียกว่า สมการมวล-พลังงานของไอน์สไตน์ ซึ่งสามารถตีความได้ว่า พลังงาน (E)กับมวล (m) เป็นของสิ่งเดียวกันที่แปลงกลับไปกลับมากันได้ สมการนี้ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์เอาเลย แต่พอถึงช่วงปี ค.ศ. ๑๙๓๔-๓๙ ก็มีผู้ค้นพบการแบ่งแยกของนิวเคลียสหรือฟิชชัน (fission) ซึ่งเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสแตกออกเป็นสองเสี่ยงขนาดใกล้เคียงกัน และมีมวลของนิวเคลียสหายไปเล็กน้อยกลายไปเป็นพลังงานมหาศาลตรงตามสมการของไอน์สไตน์ที่เขียนไว้ตั้งแต่ ๓๐ กว่าปีก่อน ในช่วงที่มีการค้นพบการแบ่งแยกนิวเคลียสนั้น พอดีกับเป็นช่วงที่กำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ความรู้นี้จึงถูกนำไปสร้างระเบิดนิวเคลียร์ พาให้อนุชนรุ่นหลังหลงคิดกันว่าไอน์สไตน์เป็นผู้คิดค้นและสร้างระเบิดนิวเคลียร์เอาไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ซึ่งความเข้าใจนี้ถูกต้องเพียงเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยวเดียวเท่านั้น

      เนื่องจากว่าคนที่ค้นพบปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสเป็นชาวเยอรมันชื่อว่าอ๊อตโต ฮาห์น (Otto Hahn) กับฟริตซ์ ชตราสมันน์ (Fritz Strassmann) พวกนักนิวเคลียร์ฟิสิกส์เป็นโหลที่หนีภัยสงครามจากยุโรปมาพำนักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาจึงกลัวกันว่าเยอรมันนาซีจะสร้างระเบิดนิวเคลียร์มาใช้ในสงคราม และพยายามโน้มน้าวให้สหรัฐอเมริกาเร่งค้นคว้าการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ให้ได้ก่อนเยอรมัน โดยไปขอร้องให้ไอน์สไตน์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียง ให้ออกหน้าลงนามในจดหมายถึงประธานาธิบดีโรสเวลต์ (Roosevelt) ไอน์สไตน์คล้อยตามและยอมลงชื่อในจดหมายซึ่งมีผลเพียงประธานาธิบดีสั่งให้ตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นมาหนึ่งคณะเท่านั้น หลังจากนั้นไอน์สไตน์ก็ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยเลยกับการสร้างระเบิดนิวเคลียร์จนสำเร็จตลอดจนการนำไปทิ้งที่ประเทศญี่ปุ่น

      หลังสงครามโลกยุติลง ได้เกิดการแข่งขันกันสร้างแสนยานุภาพนิวเคลียร์ โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตหรือรัสเซีย และไอน์สไตน์นี่แหละที่เป็นบุคคลในแถวหน้าที่ออกมาต่อต้านการแข่งขันกันสร้างอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งโดยการออกทีวี วิทยุ และการเขียนบทความ ตลอดจนการสนับสนุนการสร้างสันติถาพขององค์การสหประชาชาติอย่างสุดตัว

      ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าไอน์สไตน์แทบไม่เคยลงไม้ลงมือเกี่ยวกับนิวเคลียร์จริงๆ เลย แต่ผลงานของเขากลับเกี่ยวโยงกับนิวเคลียร์อย่างแนบแน่นอย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าชื่อของเขาจะได้รับเกียรตินำไปตั้งเป็นชื่อธาตุลำดับที่ ๙๙ ในตารางพีริออดิก มีชื่อธาตุว่า ไอน์สไตเนียม (einsteinium) ธาตุนี้ค้นพบโดยนักฟิสิกส์ชื่อ Ghiorso กับเพื่อนร่วมงาน ที่มหาวิทยาลัย Berkeley จากขยะที่เป็นเศษวัสดุหลงเหลือจากการทดลองระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ (ระเบิดไฮโดรเจน) ลูกแรกของโลกที่เกาะปะการังชื่อว่า Eniwetok ในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๕๒

งานฟิสิกส์โลก

วัตถุประสงค์ 
      1. เพื่อเป็นการร่วมฉลองปีฟิสิกส์โลก และฉลองครบรอบ 100 ปี ทฤษฎี สัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
      2. เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ให้กับนักเรียน นักศึกษารวมถึงประชาชนทั่วไป โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้หน่วยงานต่าง ๆ
      3. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดงานตลอดปี 2548



กิจกรรม
      1. การจัดสัมมนา ได้แก่
         " การประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาคมฟิสิกส์ไทย วันที่ 22 เมษายน 2548 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
         " การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ระหว่างวันที่ 26-30 กรกฎาคม 2548 และ
         " ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 ระหว่าง วันที่ 18-20 ตลาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น
      2. การจัดนิทรรศการ / เกมส์ ได้แก่
         " โครงการจัดการแข่งขันฟิสิกส์ระดับชาติ ครั้งที่ 4
         " ระหว่างวันที่ 7-11 พฤษภาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
         " การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
         " การจัดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น
      3. การสนับสนุนและจัดทำหนังสือทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่อง "รวมสุดยอดนักฟิสิกส์รุ่นใหม่" "แฟนพันธุ์แท้ ไอน์สไตน์" ฯลฯ
      4. มีการเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ทางวิทยุ และโทรทัศน์
      5. มีการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ที่จะได้รับ
      1. ได้ร่วมฉลองปีฟิสิกส์โลก ซึ่งถือเป็นปีที่มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์โลก และสร้างจิตสำนึกของความสำคัญด้านการค้นคว้าหาความจริงและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
      2. กระตุ้นให้เยาวชนไทยมีความกระตือรือร้นอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านฟิสิกส์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงต่อการสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
      3. กระตุ้นให้เกิดบรรยากาศและความตื่นตัวทางวิชาการในสาขาฟิสิกส์

ความเป็นมาของการจัดงาน

ในปี ค.ศ.1905 (พ.ศ. 2448) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 26 ปี ได้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่ปฏิวัติแนวคิดพื้นฐานในวงการฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั้งมวล โดยการตีพิมพ์บทความสำคัญ 5 บทความด้วยกัน

      บทความแรก ("On a Heuristic Point of View Concerning the Production and Transformation of Light") ได้เสนอแนวคิดว่า แสงสามารถแสดงสมบัติของอนุภาคได้ในปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนหลุดออกจากโลหะเมื่อมีแสงมาตกกระทบ แนวคิดนี้ท้าทายความคิดของนักวิทยาศาสตร์แทบทุกคนในยุคนั้นที่เชื่ออย่างสนิทใจว่า แสงเป็นคลื่นและสามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ด้วยทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

      ปรากฏการณ์ที่คลื่น (เช่น แสง) สามารถแสดงสมบัติของอนุภาคได้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะที่เรียกว่า ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค (wave-particle duality) ซึ่งเป็นแก่นความคิดของกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) กลศาสตร์ควอนตัมนี้เองที่เป็นรากฐานของความรู้ความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับสสารและการแผ่รังสี และเป็นทฤษฎีพื้นฐานของอุปกรณ์ไฮเทคที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ แสง และแม่เหล็ก รวมทั้งนาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) ซึ่งมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

      บทความที่สอง ("A New Determination of Molecular Dimensions") เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของไอน์สไตน์ ซึ่งไอน์สไตน์ได้เสนอวิธีการใหม่ในการวัดขนาดของโมเลกุล ที่นอกจากจะบ่งเป็นนัยว่าอะตอมและโมเลกุลมีจริงแล้ว ยังสามารถใช้คำนวณหาเลขอาโวกาโดร (Avogadro number) ซึ่งเป็นปริมาณพื้นฐานที่มีความสำคัญในวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ทั้งมวลอีกด้วย

      ในบทความที่สาม ("On the Motion of of Small Particles Suspended in Liquids at Rest Required by the Molecular-Kinetic Theory of Heat") ไอน์สไตน์ ได้นำเสนอทฤษฎีอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคเล็กๆ ที่แขวนลอยในของเหลวโดยอาศัยทฤษฎีจลน์โมเลกุลของความร้อน ซึ่งทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่ (diffusion) อย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญคือ ทฤษฎีนี้บ่งเป็นนัยว่าอะตอมมีจริงด้วยเช่นกัน

      สำหรับบทความที่สี่ ได้แก่ "On the Electrodynamics of Moving Bodies" ไอน์สไตน์ได้นำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับที่ว่าง (space) และเวลา (time) ซึ่งต่อมาเรียกว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) ซึ่งทำให้มนุษย์เข้าใจอย่างถูกต้องว่า ที่ว่างและเวลาไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ที่ทุกๆ คนสังเกตเห็นตรงกันหมด และในบทความสุดท้าย ("Does the Inertia of a Body Depend on Its Energy Content?") ไอน์สไตน์ได้แสดงให้โลกเห็นว่าแท้จริงแล้ว สสารกับพลังงานมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งตามสมการ E = mc2 ที่มักจะมีการกล่าวถึงกันอยู่เสมอๆ นั่นเอง

      ผลงานวิจัยแต่ละชิ้นของไอน์สไตน์ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1905 ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญยิ่งยวด และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และถึงแม้เวลาจะผ่านมาร่วมศตวรรษแล้วก็ตาม ผลงานที่ไอน์สไตน์ได้มอบเป็นมรดกไว้ให้นั้น ก็ยังคงมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความคิดของมนุษย์ รวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงถือกันว่า ปี ค.ศ. 1905 เป็นปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์ (Einstein's Miraculous Year หรือ Annus Mirabilis ในภาษาละติน)

      ในวาระโอกาสครบ 100 ปี แห่งปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์นี้เอง สหภาพสากลแห่งฟิสิกส์บริสุทธิ์และประยุกต์ (The International Union of Pure and Applied Physics : IUPAP) จึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีฟิสิกส์โลก" (World Year of Physics) และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ก็ได้ประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีฟิสิกส์สากล" (International Year of Physics) อีกทั้ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นบุคคลที่ทั่วโลกยกย่องว่าเป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20 และเป็นสัญลักษณ์ของนักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่น ดังนั้น ทั่วโลกจึงต่างให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองวาระสำคัญดังกล่าว โดยเน้นกิจกรรมที่มีสาระทางฟิสิกส์เกี่ยวเนื่องกับไอน์สไตน์เป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น